สารซีบีดีคืออะไร
สารซีบีดี (CBD) หรือ สารคานนาบิไดออล (cannabidiol) เป็นสารที่พบในต้นกัญชามากเป็นอันดับสองรองจากสารทีเอชซี (THC)
ถึงแม้ว่าสารซีบีดีจะเป็นที่รู้จักน้อยกว่าสารทีเอชซี แต่ความสำคัญของมันต่อร่างกายของมนุษย์นั้นมีมากมาย บทความนี้จะเปิดเผยความสำคัญของสารซีบีดีที่ต้องรู้
หากนำต้นกัญชามาวิเคราะห์ดู จะพบว่าภายในต้นพืชตระกูล Cannabis sativa ชนิดนี้ประกอบไปด้วยสารเคมีมากมายหลายชนิด บางชนิดเป็นที่รู้จักกันอย่างดี เช่น สารทีเอชซีที่กระตุ้นให้เกิดอาการไฮ หรือมึนเมา เป็นต้น แต่หลายคนยังไม่คุ้นเคยกับสารซีบีดีกันมากมายนัก แต่รู้หรือไม่ว่าสารซีบีดีนั้นมีคุณสมบัติมากมายที่ไม่สามารถพบได้จากสารทีเอชซี
สารในกลุ่มซีบีดี และสารทีเอชซีนั้นมีมากถึง 113 ชนิด แต่ล่ะชนิดนั้นก็ส่งผลที่แตกต่างกันต่อร่างกายของมนุษย์ ถึงแม้ว่าความรู้เกี่ยวกับสารเคมีต่างๆ ในต้นกัญชายังต้องศึกษากันอีกมากมาย แต่ความรู้เกี่ยวกับสารซีบีดีนั้นกำลังเพิ่มพูนขึ้นในทุกๆวัน
สารซีบีดีนั้นเปรียบเหมือนพี่น้องกับสารทีเอชซี แต่สารซีบีดีไม่ได้กระตุ้นให้เกิดอาการต่อจิตประสาท (psychoactive properties) กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือ สารซีบีดีไม่กระตุ้นให้เกิดอาการไฮ หรืออาการมึนเมาจากการใช้สารกัญชาเหมือนกับสารทีเอชซี

สารซีบีดีออกฤทธิ์กระตุ้นร่างกายอย่างไร
สารจากกัญชา (cannabinoids) นั้นมีผลต่อร่างกายผ่านการกระตุ้นระบบเอนโดคานนาบินอยด์(endocannabinoid system) ซึ่งเป็นระบบที่พบได้ภายในร่างกายของคนเราทุกคน ระบบเอนโดคานนาบินอยด์จะถูกกระตุ้นเมื่อสารเหล่านี้จับกับตัวรับของระบบเอนโดคานนาบินอยด์ ซึ่งมีด้วยกันหลักๆ 2 ชนิด ได้แก่ ชนิดซีบี 1 (CB-1) และชนิดซีบี 2 (CB-2) ที่พบได้ทั่วไปในร่างกายของเรา
ตัวรับชนิดซีบี 1 พบได้ทั่วไปในสมอง ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทส่วนกลาง ขณะที่ตัวรับชนิดซีบี 2 พบได้มากในระบบภูมิคุ้มกัน
สารทีเอชซีนั้นสามารถจับกับตัวรับรู้ชนิดซีบี 1 ส่งผลต่อการควบคุมอารมณ์ และกระตุ้นการตื่นตัว จึงส่งผลให้เกิดอาการไฮได้ ในขณะที่สารซีบีดีนั้นตรงกันข้าม เพราะว่าสารซีบีดีนั้นไม่สามารส่งผลต่อร่างกายได้เหมือนที่สารทีเอชซีทำ การออกฤทธิ์ของสารซีบีดีนั้นมีความซับซ้อนมากว่าสารทีเอชซี จึงต้องการการศึกษา และวิจัยเพิ่มเติม
สารซีบีดีนั้นมีความสามารถในการจับกับตัวรับรู้ของระบบเอนโดคานนาบินอยด์ทั้งสองชนิดได้ไม่ดีเท่าสารทีเอชซี นั้นหมายถึงการออกฤทธิ์ของสารซีบีดีอาจผ่านกลไกอื่นๆ ที่แตกต่างออกไป ถึงแม้ว่ากลไกการออกฤทธิ์ของสารซีบีดีนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดมากนัก แต่กลไกหนึ่งที่สามารถใช้เพื่ออธิบายการออกฤทธิ์ของสารซีบีดีได้นั้นก็คือ สารซีบีดีจะไปยับยั้งการสลายตัวของสารแห่งความสุขอนันดาไมด์ (anandamide) ที่ร่างกายเราสร้างขึ้นมา ทำให้ระดับของสารอนันดาไมด์ยังคงสูงอยู่ ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญเนื่องจากสารอนันดาไมด์นั้นมีผลต่อการกิน การนอนหลับ การบรรเทาความปวด และผลดีต่อร่างกายอีกมากมาย
ผลของสารซีบีดีต่อร่างกาย
สารซีบีดีนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายในหลายๆด้านด้วยกัน และถูกแนะนำให้นำมาใช้ในการบรรเทาอาการผิดปกติต่างๆ มากมายที่เกิดขึ้นกับร่างกายของคนเรา คุณสมบัติเหล่านี้ของสารซีบีดี เป็นเหมือนด้านที่ดีจากกัญชา และเป็นผู้อยู่เบื้องหลังว่าทำไม กัญชาไม่ควรถูกจัดเป็นสารเสพติดอีกต่อไป วันนี้เรามี 5 เรื่องราวที่สารซีบีดีมอบให้แก่ร่างกาย เพื่อให้ทุกคนรู้จักสารซีบีดีมากขึ้น และรู้จักใช้สารชนิดนี้กันให้เกิดความปลอดภัย

1. นอนหลับ
การนอนหลับเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อร่างกาย เราทุกคนต้องนอนหลับเพื่อให้ร่างกายได้ฟื้นฟูจากการทำกิจวัตรประจำวัน มีผู้คนจำนวนมากที่มีปัญหาเรื่องการนอนหลับในปัจจุบัน จากข้อมูลในปี 2563 พบว่ามีคนไทยมากถึง 19 ล้านคนที่ประสบปัญหาการนอนหลับ จึงมีหลายคนพยายามตามหาตัวช่วยเพื่อให้ตนเองนั้นมีสุขภาพการนอนหลับที่ดีมากขึ้น บางคนต้องพึ่งยาจากหมอ บางคนต้องทำกิจกรรมที่ช่วยให้ตัวเองผ่อนคลาย และบางคนนำกัญชามาใช้ในการกระตุ้นให้ร่างกายเข้าสู่โหมดนอนหลับ
มีจำนวนคนไม่น้อยเลยที่เดียวที่พบว่ากัญชาสามารถช่วยให้เกิดการนอนหลับที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และผู้อยู่เบื้องหลังเรื่องนี้ก็คือสารซีบีดีนั้นเอง กลไกที่สารซีบีดีกระตุ้นให้ร่างกายนอนหลับได้ง่ายขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั้นยังไม่แน่ชัด แต่เชื่อกันว่าสารซีบีดีสามารถช่วยจัดการกับฮอร์โมนความเครียดอย่าง ฮอร์โมนคอร์ติซอล (corticol) และช่วยกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนช่วยในการนอนหลับ อย่างเมลาโทนิน (melatonin)

2.ผ่อนคลาย
ความเครียดเป็นสภาวะที่พบเจอได้ควบคู่ไปกับสังคมสมัยใหม่ ส่งผลให้มีผู้คนจำนวนมากที่ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้า ภาวะเครียด และภาวะวิตกกังวล ซึ่งภาวะต่อสุขภาพจิตเหล่านี้มีสาเหตุการเกิดที่หลากหลาย และมีความแตกต่างกันไปแต่ล่ะบุคคล อย่างไรก็ตามสิ่งที่เหมือนกันที่พบเจอได้ภายในร่างกายของผู้ที่มีสภาวะทางความเครียดเหล่านี้คือ มีการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทชื่อว่า ซิโรโทนิน (Serotonin) ซึ่งเป็นสารแห่งความสุขชนิดหนึ่ง ซิโรโทนินจะออกฤทธิ์ผ่านตัวรับรู้ชนิด 5-เอชที (5-HT) ซีโรโทนินจะหลั่งออกมาเมื่อเราได้ทำกิจกรรมที่กระตุ้นให้เกิดความสุข อย่างเช่น การออกกำลังกาย การมีเซ็ก เป็นต้น
มีผลการวิจัยเปิดเผยว่าสารซีบีดีนั้น สามารถควบคุมระบบของเซโรโทนิน และตัวรับรู้ 5-เอชที นำไปสู่การศึกษาเชิงการแพทย์อีกมากมายที่จะทำให้มีการนำสารซีบีดีมาใช้รักษาสภาวะด้านสุขภาพจิต และโรคที่เกี่ยวข้อง

3.ฟื้นฟูกล้ามเนื้อ
ระบบภูมิคุ้มกันเป็นกลไกที่ร่างกายของเราใช้ต่อสู่กับเชื้อโรคร้ายต่างๆ และใช้เพื่อฟื้นฟูส่วนที่เสียหายของร่างกาย จึงนับว่ามีความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะนักกีฬาที่ต้องมีร่างกายที่แข็งแรง และเป็นผู้ที่ต้องการระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง เพื่อช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ได้รับบาดเจ็บ เพราะการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยลดโอกาสที่จะได้รับบาดเจ็บ สารซีบีดีจากกัญชาถูกนำมาศึกษาเพื่อใช้ในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน และให้มีสภาวะกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

4.ยับยั้งผลของสารทีเอชซี
เมื่อใช้สารซีบีดีและสารทีเอชซีด้วยกัน เชื่อว่าสารซีบีดีนั้นสามารถต้านผลด้านลบของสารทีเอชซีได้ โดยเฉพาะการช่วยลดอาการวิตกกังวลที่เกิดจากการใช้สารทีเอชซีมากเกินไป นอกจากนั้นสารซีบีดียังช่วยชะลดการเกิดอาการไฮ หรือลดเวลาของอาการไฮที่เกิดจากการใช้สารทีเอชซีลงได้
มีการศึกษาเมื่อปี 2555 ว่าเมื่ออาสาสมัครได้รับสารซีบีดีเข้าไปสามารถช่วยลดอาการหวาดระแวง (paranoia) ที่เกิดจากการใช้สารทีเอชซีจากกัญชาลงได้ ดังนั้นการใช้สารซีบีดีร่วมกับสารทีเอชซีสามารถลดผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ซีเอชซีลง

5.บรรเทาอาการลมชัก
นับว่ามีการศึกษากันอย่างกว้างขว้างในเรื่องผลของสารซีบีดีต่ออาการลมชัก อาการลมชักมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Dravet syndrome และ Lennox-Gastaut syndrome ทั้งสองกลุ่มอาการนั้นพบรุนแรงในเด็ก
ในประเทศสหรัฐอเมริกา องค์การอาหารและยาได้อนุมัติให้ สารสังเคราะห์ซีบีดี ชื่อว่า อิพิไดโอเล็กซ์ (Epidiolex) ในการรักษาโรคลมชักในเด็ก ซึ่งยา อิพิไดโอเล็ก มีประสิทธิภาพสูงในการจัดการกับโรคลมชักนี้ จึงแสดงให้เห็นประโยชน์ที่เด่นชัดอย่างหนึ่งของสารซีบีดีต่อวงการแพทย์
ถึงแม้ว่าสารซีบีดีนั้นจะมีผลที่ดีต่อร่างกายมากมาย แต่ผลทั้งหมดนี้ต้องมีการศึกษา และวิจัยเพิ่มเติมอีกมากมาย เราไม่แนะนำให้ใช้กัญชาทดแทนยารักษาโรค หรือรักษาอาการตามที่กล่าวมาด้วยตนเอง ผู้ใช้สารซีบีดีเพื่อการรักษาโรคควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะใช้กัญชา เพราะว่าภายในต้นกัญชานั้นประกอบไปด้วยสารอีกมากมาย อย่างเช่นสารทีเอชซี ที่เมื่อใช้ในปริมาณมากจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้
ผลข้างเคียงของสารซีบีดี
อาการข้างเคียงที่สามารถพบได้จากการใช้สารซีบีดี ได้แก่ เหนื่อยล้า ท้องเสีย ปากแห้ง กระเพะอาหารแปรปรวน และเวียนหัว เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามผลของสารซีบีดี จะมีความแตกต่างกันในแต่ล่ะคน นอกจากนั้นยังมีข้อมูลว่า สารซีบีดียังสามารถทำปฏิกิริยากับยาบางชนิดที่ใช้ในการรักษาโรคปัจจุบัน จึงต้องมีความระมัดระวังหากมีการใช้สารซีบีดีร่วมกับยารักษาโรค
ติดตาม WeedHub
ที่มาข้อมูล
https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/0269881112460109
https://www.royalqueenseeds.com/blog-cbd-the-lesser-known-cannabinoid–n52
https://www.imperial.ac.uk/news/211534/medical-cannabis-eases-seizures-childhood-epilepsy/
2 Comments
Right here is the perfect webpage for everyone who would like to understand this topic. You understand a whole lot its almost tough to argue with you (not that I really will need toÖHaHa). You certainly put a fresh spin on a subject that has been discussed for a long time. Wonderful stuff, just excellent!
Very nice write-up. I definitely appreciate this site. Thanks!