หลายคนคุ้นหูว่าการใช้กัญชาจะมีผลต่อสมองในเชิงลบ แต่มีงานวิจัยจำนวนหนึ่งได้สรุปออกมาในทำนองตรงกันข้ามว่า “การใช้กัญชาอาจช่วยชะลอความชราของสมองลงได้” นี้จึงเป็นมุมมองใหม่เกี่ยวกับผลของกัญชาที่มีต่อสมอง

ในร่างกายของคนเรามีระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ (Endocannabinoid system) ซึ่งเป็นระบบทางสรีรวิทยาที่พบได้ทั่วไปในร่างกายมีหน้าที่ควบคุมกลไกต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วร่างกายโดยเฉพาะอารมณ์ ความจำ ความอยากอาหาร ความเจ็บปวด และระบบภูมิต้านทาน เป็นต้น สารจากต้นกัญชา (Phytocannabinoids) จะออกฤทธิ์ผ่านระบบนี้ จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมกัญชาจึงมีผลร่างกายมากมายนั้นเอง
ในคนเราระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ จะพัฒนาเต็มที่จนถึงประมาณอายุ 25 ปี หลังจากนั้นการทำงานของระบบนี้จะค่อยๆลดลงไปตามอายุที่มากขึ้น โดยเฉพาะระดับการสร้างสารเอ็นโดแคนนาบินอยด์ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลต่อกระบวนการทางสรีรวิทยาต่างๆ ในร่างกาย โดยเฉพาะเรื่องของภูมิคุ้มกัน ในโรคชรานั้นจะพบอาการอักเสบ (Inflammation) ที่สูงมากขึ้น และเป็นสาเหตุของความผิดปกติในร่างกายเช่น สมองเสื่อม และความจำที่ลดลง โดยความอักเสบที่เกิดขึ้นในร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยชราเหล่านี้ อาจเป็นผลกระทบจากร่างกายที่มีการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่น้อยลงนั้นเอง
กัญชาและสารแคนนาบินอยด์ ที่มีจุดประสงค์ทางการแพทย์มีประโยชน์ช่วยลดอาการอักเสบภายในสมองและส่วนอื่นๆทั่วร่างกาย

มีการรายงานผลการทดลองคล้ายๆ กันจากทั่วโลก ที่มีจุดประสงค์เพื่อดูผลของสารกัญชาต่อพฤติกรรสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับโรคชราในหนูทดลองพบว่า สารในกัญชามีความสามารถช่วยชะลอภาวะสมองเสื่อมตามวัย (Brain aging) ในหนูได้ ตัวอย่างการทดลองที่มีการรายงานไว้ใน PBS เรื่อง “ Cannabis Reverses Brain Aging in Mice” รายงานว่าเมื่อให้หนูชรารับสารสังเคราะห์ทีเอชซี (THC) ปริมาณต่ำๆ ซึ่งโดยปกติแล้วสารทีเอชซีนั้นเป็นสารเคมีจากต้นกัญชาที่ส่งผลให้เกิดความมึนเมา และอาจให้เกิดอาการไฮได้เมื่อได้รับในปริมาณสูง เมื่อหนูทดลองได้รับสารไปเพียงครั้งเดียว พบว่าสามารถเคลื่อนไหวได้เร็วขึ้น และมีความสามารถในความคิดแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น นักวิจัยสรุปว่าสารทีเอชซีปริมาณต่ำๆ อาจให้ผลที่มีประโยชน์ต่อสมองก็เป็นไปได้ อย่างไรก็ตามการทอลองนั้นยังไม่ได้ถูกยืนยันว่าจะได้ผลลัพธ์เหมือนกันในคนรึเปล่า เพราะเป็นเพียงผลที่น่าตื่นตาตื่นใจในสัตว์ทดลองเท่านั้นเอง
แต่จากการสัมภาษณ์คนชราหลายๆคน ซึ่งได้กล่าวว่า “พวกเขารู้สึกมีชีวิตชีวา และได้รับความกระปรี้กระเปร่าหลังจากใช้กัญชา” ซึ่งนี้อาจเป็นการเติมเต็มการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ที่ทำงานน้อยลงในร่างกายของผู้สูงวัย นอกจากนั้นสารในกัญชาที่พวกเขาใช้อาจไปช่วยต่อสู้กับอาการอักเสบที่เกิดในร่างกายนั้นเอง
หากมีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้นในอนาคต เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเราอาจใช้กัญชาเป็นเหมือนวิตามินอาหารเสริมเพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ เพื่อช่วยยืดอายุระบบต่างๆในร่างกายให้ยังทำงานได้อยู่ และให้เรามีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มากกว่าแล้วนี้ยังมีการศึกษาอีกที่บ่งบอกว่าการใช้กัญชาทางการแพทย์อย่างมีประสิทธิภาพอาจช่วยต่อสู้กับภาวะสมองถดถ่อยที่จะเกิดเมื่ออายุมากขึ้น อย่างเช่นอาการความจำเสื่อม โรคอัลไซเมอร์ รวมถึงโรคสมองเสื่อม (Neurodegeneration) อื่นๆ
